ไม่กินเค็มก็เป็นโรคไตได้: รู้จัก 5 อาหารต้องเลี่ยง เสี่ยงโรคไต

“กินเค็มแล้วจะเป็นโรคไต”
คือคำกล่าวที่พี่ๆ น่าเคยได้ยินบ่อยๆ ซึ่งบอกเลยว่าเป็นความจริง แต่เป็นความจริงแค่บางส่วน เพราะปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไต ไม่ใช่แค่การกินอาหารรสจัดหรือรสเค็มเท่านั้น แต่ยังมีอาหารอีกหลายประเภทที่ควรหลีกเลี่ยง
เพราะไต มีหน้าที่ในการกรองของเสียออกจากร่างกาย การเลือกกินนอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมสารอาหารให้อยู่ในเกณฑ์ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ห้ามไม่ให้กระทบกับค่าไต สามารถช่วยไม่ให้ไตทำงานหนักเกินไปได้ ‘โรคไตเรื้อรัง’ เป็นโรคที่ไม่ไกลตัว แต่ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด หากรู้จักการปรับ ลด เลี่ยง การกินอาหารบางอย่าง ก็สามารถช่วยให้ชะลอไตไม่ให้เสื่อมสภาพได้
ยังแฮปปี้จะขอมาแชร์ 5 อาหารที่สูงวัยควรหลีกเลี่ยง เพื่อไม่ให้สุขภาพไตแย่ลง มีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย
1. ผักสีเข้ม
ผักเป็นหนึ่งในอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ผักบางชนิดเสี่ยงทำให้ไตทำงานหนัก โดยเฉพาะผักที่มีโพแทสเซียมสูงและกรดออกซาลิก ซึ่งพบได้ในผักสีเข้มและผักกินหัว เช่น กะหล่ำดอก, กะหล่ำปลีม่วง, แครอท, ถั่วฝักยาว, บรอกโคลี, มะเขือเปราะ, มะเขือพวง, มะเขือเทศ, รากบัว, สะตอ, สะเดา, ฟักทอง, หัวปลี และหน่อไม้ โดยสารดังกล่าวจะเข้าไปกระตุ้นทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดปกติได้
2. เครื่องในสัตว์
สำหรับใครที่ชอบกินอาหารอีสานจำพวก ไส้ย่าง ตับย่าง ลาบตับ หรืออาหารที่มีส่วนประกอบของเครื่องในสัตว์ อาจจะต้องลดปริมาณการกินลง เพราะเครื่องในสัตว์เหล่านี้เป็นอันตรายกับไต จากกรดยูริกและโคเลสเตอรอลที่สูงเกินไป ส่งผลให้การทำงานของไตเสื่อมได้
3. อาหารประเภทแป้ง
แม้ว่าแป้งจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในมื้ออาหารหลัก เพราะต้องอาศัยพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต แต่สำหรับแป้งบางชนิดอาจให้ปริมาณโปรตีนที่สูงเกินไป และแต่งเติมรสชาติ ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการย่อยและกระทบต่อการทำงานของไตได้ ตัวอย่างเช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว, บะหมี่, มักกะโรนี, ขนมปัง, ขนมจีน, ข้าวโพด และเผือก ควรเปลี่ยนไปเลือกกิน วุ้นเส้น เส้นบุก เส้นแก้ว ทำจากถั่วเขียวและมีไขมันต่ำ สามารถช่วยในการย่อยและไม่กระทบการทำงานของไต
4. น้ำมัน
อาหารส่วนใหญ่ มักใช้น้ำมันพืชเป็นส่วนสำคัญในการปรุงอาหาร ทั้งการผัดและการทอด ซึ่งไขมันจากน้ำมันพืชส่งผลกระทบให้ไตทำงานหนักมากขึ้น จึงควรเปลี่ยนวิธีในการปรุงอาหารเป็นการต้ม นึ่ง หรืออบแทน หรือถ้าหากอดใจกับความอร่อยไม่ได้จริงๆ ให้ลองเปลี่ยนไปใช้น้ำมันที่มีปริมาณไขมันต่ำ อย่างเช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว ทดแทนได้
5. อาหารแปรรูป และอาหารสำเร็จรูป
หนึ่งในอาหารที่ทำร้ายไตมากที่สุด คืออาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง นั่นก็คืออาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่ปรุงรส, อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง และอาหารแปรรูปอย่างเช่น ไส้กรอก เบคอน ลูกชิ้นนั่นเอง แม้ว่าจะเป็นอาหารที่หาซื้อได้ง่าย และสะดวกในการกิน แถมยังมีราคาถูก แต่บอกเลยว่ากินเข้าไปมากๆ ไม่ดีต่อไตแน่ๆ และยังส่งผลให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนอีกด้วย เพราะฉะนั้นแล้ว ลองให้เวลากับการทำอาหารเองสักหน่อย เลือกวัตถุดิบดีๆ ควบคุมปริมาณเครื่องปรุงให้พอดี ก็จะดีต่อสุขภาพไตและร่างกายอย่างแน่นอน
อ้างอิง :
🟢 ผัก 16 ชนิด ควรเลี่ยง ส ำหรับผู้ป่วยไตวำยเรื่องรัง | สำนักโภชนาการ กรมอนามัย
🟢 ผู้ป่วยโรคไตทานอะไรได้บ้าง? อาหารแบบไหนบ้างที่ควรเลี่ยง? | อายุวัฒน์เนอร์สซิ่งโฮม
🟢 กินอย่างไรให้ปลอดภัยแต่ยังอร่อยได้ | ศูนย์อายุรกรรม
🟢 คนโรคไต กินผัก อะไรได้บ้าง ? | Eat Well Concept
นอกจากบทความนี้แล้ว พี่ๆ สามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่นี่เลย 🤩
🟢 Plant-Based Diet: ลดกินเนื้อ เพิ่มการกินพืช ดีต่อสุขภาพ
🟢 4 เมนูเลี่ยงรสจัดปรับสมดุลให้กับร่างกาย
🟢 ดื่มน้ำยังไงให้ไม่น่าเบื่อ ลอง ‘น้ำแช่ผลไม้ Infused Water’ สดชื่น มีประโยชน์ ดีต่อสุขภาพ
บทความอ่านดี ได้สาระแบบนี้ มีให้อ่านทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี พี่วัยเก๋ารอติดตามบทความใหม่ๆ กันไว้ได้เลย อย่าลืมกดไลค์👍 เพื่อเป็นกำลังใจให้พวกเราชาวยังแฮปปี้กันด้วยนะ💚
ถูกใจคอนเทนท์นี้
จำนวน 1 คนถูกใจ